จังหวัดกำแพงเพชร มีสินค้าขึ้นชื่ออย่างหนึ่งคือ "กล้วยไข่" จนมีคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า "กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก" โดยประวัติของกล้วยไข่ในจังหวัดกำแพงเพชร มีดังนี้ครับ
คนปลูกกล้วยไข่ต้นแรก ของกำแพงเพชร
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งปลูกกล้วยไข่รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย กล้วยไข่ที่ปลูกในจังหวัดกำแพงเพชรได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคว่า มีคุณภาพดี ผิวสวย เปลือกสีทอง รสชาติหวานหอม อร่อย เนื้อนุ่ม แกนในของกล้วยไม่กระด้าง จึงเป็นผลไม้ที่ทำรายได้มาสู่จังหวัดได้ปีละไม่น้อยกว่าสามร้อยล้านบาท จนได้รับการยกย่องให้เป็นผลไม้ประจำจังหวัด เมื่อรวมเข้ากับเทศกาลเดือนสิบ จึงได้มีการจัดงานประเพณี "สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง" โดยมีสาระหลักของงานอยู่ที่การส่งเสริมผลผลิตทางเกษตร ของดีเมืองกำแพงเพชร การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีสารทไทย และสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร
ตามประวัติที่เล่ากันมาเชื่อกันว่า นายฮะคลิ้ง แซ่เล้า ชาวจีนจากนครปฐม ซึ่งเดิมมีอาชีพรับจ้าง ต่อมาได้เปลี่ยนอาชีพเป็นพ่อค้าเรือเร่ เดินทางค้าขายระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดกำแพงเพชร และได้ตัดสินใจเข้ามาใช้ชีวิตและตั้งบ้านเรือน หักร้างถางป่าทำสวนกล้วยไข่ โดยนำกล้วยไข่หน่อแรกเข้ามาปลูกไว้ที่บ้านเกาะตาล หมู่ที่ 2 ตำบลแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.2465(ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนบ้านเกาะตาล)
จากแปลงปลูกแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชร กล้วยไข่ได้แพร่หลายเข้าไปสู่หมู่บ้านข้างเคียง โดยชนชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ เช่น นายปั๊กฮ้อ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "เจ๊กค้อ" ได้นำต้นกล้วยไข่ไปปลูกที่บ้านเกาะสามสิบ และชาวจีนบางรายได้นำไปปลูกที่บ้านเตาสูบ บ้านเกาะฝ้าย บ้านหาดชะอม ก่อนจะแพร่หลายไปทั่วจังหวัดกำแพชเพชร ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไข่แห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรที่บ้านเกาะตาล ไปโรยราและสูญหายไปพร้อมกับชีวิตของนายฮะคลิ้ง แซ่เล้า หมดแล้ว
เมื่อมีเกษตรปลูกกล้วยไข่เพิ่มมากขึ้น จนเป็นแหล่งปลูกกล้วยไข่รายใหญ่ของประเทศ ทำให้มีการริเริ่มจัดงานกล้วยไข่เมืองกำแพงขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2524 ในสมัยของ นายจำนงค์ ยังเทียน เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยความร่วมมือกับภาคเอกชน นักธุรกิจและการโรงแรม โดยจัดขึ้นในช่วงเทศกาลสารทไทย ซึ่งตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ เรียกชื่องานว่า "งานกล้วยไขเมืองกำแพง" ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2526 ได้เปลี่ยนชื่อการจัดงานเสียใหม่เป็น "งานสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร" ด้วยเป็นการจัดงานในช่วงวันสารทไทย และต่อมาในปี 2546 คณะกรรมการจัดงานได้มีมติให้ใช้ชื่อว่า "งานประเพณีสารทไทย กล้วยไขเมืองกำแพง"
รูปแบบของการจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง เป็นงานประเพณีที่มุ่งเน้นวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม ภายในงานจึงจัดให้มีการประกวดกล้วยไข่สุก และ กล้วยไข่ดิบ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร การสาธิตและการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยไข่ การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากใบตองและกาบกล้วย การแข่งขันชำแหละกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารททั้งประเภทลีลาและรสชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานสร้างความครื่นเครงให้แก่ผู้ชมเป็นอย่างมาก ในด้านประเพณีสำคัญของพื้นบ้าน ได้จัดให้มีการทำบุญตักบาตรวันสารทไทยและการทอดผ้าป่าแถว
กิจกรรมสำคัญของงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงคือ การแห่รถกล้วยไข่ที่สวยงาม ซึ่งจะมีการแห่กันในวันเปิดงาน รถทุกคันจะประดับด้วยกล้วยไข่ ตกแต่งด้วยวัสดุพื้นบ้านอย่างกาบกล้วย ใบตอง พืชผัก ผลไม้ นำมาจัดวางอย่างงดงามตามลวดลายวิจิตรศิลป์ ด้วยฝีมือของช่างพื้นบ้านที่ร่วมมือร่วมใจออกแบบอย่างสร้างสรรค์ และจัดทำกันอย่างทุ่มเท ผลงานเหล่านี้มีความหมายยิ่งนัก เพราะเป็นผลผลิตแห่งความร่วมมือร่วมใจของชุมชนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรยังได้จัดให้มีการประกวด กล้วยไข่สุกและกล้วยไข่ดิบ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร
กล้วยไข่หวาน ถือเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร จึงได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในคำขวัญของจังหวัดกำแพงเพชร และงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ยังเป็นงานประเพณีอันน่าภาคภูมิใจของชาวกำแพงเพชรที่ยึดถือปฏิบัติกันมากว่ายี่สิบปี เพราะได้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของบ้านเมือง ส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร อนุรักษ์ทางชีวิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นออกมาสร้างสรรค์ และส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชรให้ร่งเรืองและเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น
เมื่อมีเกษตรปลูกกล้วยไข่เพิ่มมากขึ้น จนเป็นแหล่งปลูกกล้วยไข่รายใหญ่ของประเทศ ทำให้มีการริเริ่มจัดงานกล้วยไข่เมืองกำแพงขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2524 ในสมัยของ นายจำนงค์ ยังเทียน เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยความร่วมมือกับภาคเอกชน นักธุรกิจและการโรงแรม โดยจัดขึ้นในช่วงเทศกาลสารทไทย ซึ่งตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ เรียกชื่องานว่า "งานกล้วยไขเมืองกำแพง" ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2526 ได้เปลี่ยนชื่อการจัดงานเสียใหม่เป็น "งานสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร" ด้วยเป็นการจัดงานในช่วงวันสารทไทย และต่อมาในปี 2546 คณะกรรมการจัดงานได้มีมติให้ใช้ชื่อว่า "งานประเพณีสารทไทย กล้วยไขเมืองกำแพง"
รูปแบบของการจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง เป็นงานประเพณีที่มุ่งเน้นวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม ภายในงานจึงจัดให้มีการประกวดกล้วยไข่สุก และ กล้วยไข่ดิบ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร การสาธิตและการแข่งขันผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยไข่ การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากใบตองและกาบกล้วย การแข่งขันชำแหละกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารททั้งประเภทลีลาและรสชาติ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานสร้างความครื่นเครงให้แก่ผู้ชมเป็นอย่างมาก ในด้านประเพณีสำคัญของพื้นบ้าน ได้จัดให้มีการทำบุญตักบาตรวันสารทไทยและการทอดผ้าป่าแถว
กิจกรรมสำคัญของงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงคือ การแห่รถกล้วยไข่ที่สวยงาม ซึ่งจะมีการแห่กันในวันเปิดงาน รถทุกคันจะประดับด้วยกล้วยไข่ ตกแต่งด้วยวัสดุพื้นบ้านอย่างกาบกล้วย ใบตอง พืชผัก ผลไม้ นำมาจัดวางอย่างงดงามตามลวดลายวิจิตรศิลป์ ด้วยฝีมือของช่างพื้นบ้านที่ร่วมมือร่วมใจออกแบบอย่างสร้างสรรค์ และจัดทำกันอย่างทุ่มเท ผลงานเหล่านี้มีความหมายยิ่งนัก เพราะเป็นผลผลิตแห่งความร่วมมือร่วมใจของชุมชนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรยังได้จัดให้มีการประกวด กล้วยไข่สุกและกล้วยไข่ดิบ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกร
กล้วยไข่หวาน ถือเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร จึงได้รับการบรรจุให้เป็นหนึ่งในคำขวัญของจังหวัดกำแพงเพชร และงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ยังเป็นงานประเพณีอันน่าภาคภูมิใจของชาวกำแพงเพชรที่ยึดถือปฏิบัติกันมากว่ายี่สิบปี เพราะได้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของบ้านเมือง ส่งเสริมอาชีพทางการเกษตร อนุรักษ์ทางชีวิต นำภูมิปัญญาท้องถิ่นออกมาสร้างสรรค์ และส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชรให้ร่งเรืองและเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น
************************
บทความนี้ไม่ทราบว่ามาจากหนังสือพิมพ์ใด เห็นแปะอยู่ในห้องน้ำที่ทำงาน เป็นคอลัมน์ "รอยอดีตที่กำแพงเพชร" โดย อ.เรืองศักดิ์ แสงทอง เลยขอนำมาลงไว้ให้อ่านกัน และเพื่อบันทึกไว้เป็นหมายเหตุอ้างอิงในอนาคตครับ
ท่านสามารถหาซื้อกล้วยไข่กำแพงเพชร รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ กล้วยฉาบ มันฉาบ ขนมขบเคี้ยวที่ทำจากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ตระกร้าสาน ไม้กวาด ผลิตภัณฑ์ OTOP ต่าง ๆ ได้บริเวณ "มอ กล้วยไข่" จาก กทม. จะถึงก่อนตัวเมืองกำแพงเพชร ประมาณ 10 กม. มีทั้งขาขึ้น และขาล่อง ที่จอดรถสะดวกครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น